RDF:
ข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์
[MT] Research ethnic

ในบริเวณพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ในประเทศไทยด้วยเป็นพื้นที่หนึ่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้พูดภาษาต่างๆ ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาหลายตระกูล เช่น ออสโตรเอเชียติก ไท จีน-ทิเบต แม้ว-เย้า และออสโตรเนเชียน เป็นต้น (นักภาษาศาสตร์ได้จำแนกตระกูลภาษาที่แตกต่างกันไปตามหลักการ และเหตุผลที่ต่างกัน สำหรับในฐานข้อมูลนี้จะอาศัยการจำแนกของ ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ซึ่งมีประสบการณ์ทางวิจัยภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน) มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคมและการเมือง ความเชื่อ ตลอดจนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ต่างๆ กัน

พื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นสนามวิจัยของนักวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องกว่าสามทศวรรษแล้ว งานศึกษาวิจัยที่มีอยู่จำนวนมากนั้น กระจัดกระจายอยู่ตามสถาบันวิชาการและมหาวิทยาลัยต่างๆ ยากในการศึกษาค้นคว้า ทำให้การเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การพัฒนาองค์ความรู้ ทิศทางการวิจัยเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และประมวลองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นไปด้สยความยากลำบาก และไม่รอบด้านเท่าที่ควร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักวิชาการรุ่นใหม่มีความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งสามารถใช้แบบออนไลน์จากฐานข้อมูลที่ถูกจัดอย่างมีระบบซึ่งสืบค้นได้ง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเรียกใช้ข้อมูลตามประเด็นสำคัญ และสามารถประมวลเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเด็นวิจัยในเชิงลึกต่อไป

การดำเนินการ

โครงการฯ นี้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในวาระที่คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็นผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และดำเนินการต่อโดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในระยะต่อมา ได้มอบหมายคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ประกอบด้วย ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ (กรรมการวิชาการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการ) น.ส.สรินยา คำเมือง น.ส.สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (นักวิชาการศูนย์ฯ) นายสกุล สาระจันทร์ (โปรแกรมเมอร์ของศูนย์ฯ) น.ส.บุญสม ชีรวณิชย์กุล และ น.ส.อธิตา สุนธโรทก (นักวิชาการอิสระทำหน้าที่นักวิจัยผู้ช่วย) ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2546-2552

ในปี 2554 โครงการฯ จะเพิ่มงานวิจัยชาติพันธุ์ที่เป็นงานหลักของโครงการแล้ว และจะขยายกรอบการทำงานด้านชาติพันธุ์ใน 3 มิติ คือ งานฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ งานเครือข่าย และงานวิชาการ โดยจะนำเสนอความรู้ ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในแวดวงเครือข่าย เป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรอิสระ กลุ่มชาติพันธุ์ และสื่อมวลชนให้มีความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่หลากหลาย พร้อมทั้งนำเสนอบทความ เสวนาวิชาการให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่น่าสนในสถานการณ์ปัจจุบัน

[MT] The area was called. "Southeast Asia" in Thailand, covering an area with one of the regions. The world's ethnic diversity is high. Different ethnic groups These speak different languages In several language families, such as family, Austro Asiatic,...

Data and Resources

  • ข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์CSV Popular

  • ข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์JSON

Additional Info

Field Value
Maintainer ผู้ดูแลระบบ
Last Updated November 13, 2020, 11:04 (CST)
Created September 22, 2020, 14:21 (CST)
DPA_DateImported 202661247
DPA_former_id 5f76b955-3cad-4375-964b-74ad6d452a9d
DPA_former_name ethnicredb
DPA_former_owner_org a0dea013-4c67-43e6-b52f-6fa8ee9222e0
DPA_former_site https://data.go.th/en
AODP Economy Thailand